ลักษณะทั่วไปของแมลง

แมลง เป็นสัตว์ไมมีกระดูกสันหลัง ที่มีลำตัวและขาแบเป็นปล้องๆ เรียงติดต่อกัน ลำตัวทั้งซีกซ้ายและซีกขวาจะมีลักษณะสมมาตร(Bilateral symmetry) และแบงเป็น 3 ส่วน คือ หัว (Head) อก (Thorax)และ ทอง (Abdomen) ดังภาพ

ลักษณะของแมลง

1.) ส่วนหัว
          หัว(Head)ของแมลง ประกอบด้วนแผนแข็งหลายแผ่นเชื่อมต่อกัน เห็นเป็นรองลึกลงไปในผนังของ สวนหัว มีลักษณะ คล้ายรูปตัว “Y” หัวกลับ และเป็นที่ตั้งของอวัยวะสำคัญ คือ ตา หนวด ปาก

ส่วนหัวของแมลง

                1.1) ตา (Eyes)
- ตารวม หรือตาประกอบ (Compound eyes) จํานวน 1คู ซึ่งเปนเลนสเล็ก ๆ ที่เรียก “Facets” ตอกัน ทําหนาที่ในการมองภาพ ซึ่งสวนใหญจะพบในตัวเต็มวัย
- ตาเดี่ยว (Simple eye หรือ Ocelli) ซึ่งมีจํานวนแตกตางกันไป โดยทั่วไปตาเดี่ยวของตัวเต็มวัยจะอยู ระหวางตารวม สวนตาเดี่ยวของหนอนผีเสื้อจะอยูที่บริเวณดานขางของสวนหัว มีชื่อเรียกโดยเฉพาะ วา “ตาเดี่ยวดานขาง (Lateral ocelli หรือ Stemmata)”

                1.2) หนวด
แมลงมีหนวด (Antennae) 1 คู อยูระหวาง หรือใตตารวม หนวดแมลงประกอบดวย 3 สวนเรียง ติดตอกันคือ ฐานหนวด (Scape) ขอตอหนวด (Pedicel) และเสนหนวด (Flagellum) ดังภาพ

หนวดของแมลง

                     รูปแบบหนวดของแมลง
- หนวดแบบเสนดาย (Filiform) เสนหนวดมีขนาดเทาๆ กัน เรียงติดตอกันเปนเสนยาวคล้ายเส้นด้าย เช่น หนวดของดวงหนวดยาว และตั๊กแตนหนวดยาว
- หนวดแบบเสนขน (Setaceous) เสนหนวดมีขนาดเรียวเล็กลงไปทางปลายหนวด ทําใหหนวดมี ลักษณะคลายเสนขน เชน แมลงปอ และจักจั่น
- หนวดแบบลูกปด (Moniliform) เสนหนวดมีรูปรางกลมคลายลูกปดรอยติดตอกัน    เปนสายยาว เชน ปลวก
- หนวดแบบกระบอง (Clavate) เสนหนวดคอย ๆ ขยายใหญ่ขึ้นไปทางปลายหนวด เชน หนวดของ ผีเสื้อกลางวัน
- หนวดแบบลูกตุม (Capitate) เสนหนวดประมาณ 3-4 ปลองสุดทายจะขยายใหญ    กวาปลองอื่นๆ ทํา ใหมีลักษณะคลายลูกตุมติดที่ปลายหนวด เชน หนวดของดวงผลไมแหง
- หนวดแบบฟนเลื่อย (Serrate) เสนหนวดแตละปลองจะขยายออกทางดานขางมีลักษณะเปนแผนสามเหลี่ยม ซึ่งเรียงติดตอกันคลายฟนเลื่อย เชน หนวดของแมลงทับ และดวงดีด
- หนวดแบบฟนหวี (Pectinate) ดานขางของเสนหนวดแตละปลองขยายยื่นยาวออกมาเปนแขนงเรียงเปนแถวคลายฟนหวี จํานวนแถวของฟนหวีจะแตกตางกันไป หนวดซึ่งมีฟนหวี 1, 2 หรือ 3แถวเรียกวา Pectinate, Bipectinate และ Tripectinate ตามลําดับ เชน หนวดของผีเสื้อกลางคืน และดวงบางชนิด
- หนวดแบบใบไม (Lamellate) ปลองเสนหนวดบริเวณปลายหนวดจะแผขยายออก    ดานหนึ่ง มีลักษณะเปนแผนแบนบางวางซอนกันหลายแผน เชน หนวดของดวงแรดมะพราว
- หนวดแบบใบไผ (Flabellate) เสนหนวดแตปลองจะขยายเปนแผนแบนบางยื่นยาวออกไปทางดานขาง มีลักษณะคลายใบไผ เชน ดวงสีดา
- หนวดแบบอริสเตท (Aristate) หนวดชนิดนี้มีเสนหนวดปลองสุดทายขยายใหญ บน  เสนหนวดมีเสนขน Arista ติดอยู 1 เสน เสนขน Arista อาจมีเสนขนเรียบหรือมีเสนขนเปนแขนงเล็กๆ หลายเสนเชน หนวดของแมลงวัน
- หนวดแบบพูขนนก (Plumose) ที่เสนหนวดแตละปลองจะมีขนยาวเปนแขนงขนออนๆ ติดอยูโดยรอบทําใหหนวดมีลักษณะคลายพุม หรือพูขนนก เชน หนวดของยุงตัวผู
- หนวดแบบขอศอก (Geniculate) หนวดชนิดนี้มีฐานหนวดยาว จึงมักแยกสวนของ   เสนหนวดใหมีลักษณะงอลงคลายขอศอกโดยทํามุมกับฐานหนวดเชน หนวดของมด และผึ้ง
- หนวดแบบเคียว (Stylate) เสนหนวดมีลักษณะโคงงอคลายเคียว เชน หนวดของเหลือบ

                1.3) ปาก
แมลงจะดัดแปลงสวนปาก(Mouths) ใหมีรูปรางแตกตางกันออกไป เพื่อใหเหมาะสมกับพฤติกรรม และลักษณะของอาหารที่กิน

                       ชนิดของปากแมลง
- ปากกัดกิน (Chewing) ปากชนิดนี้เป็นต้นแบบของปากแมลง โดยทั่วไปกรามจะมีขนาดใหญ่ และมีซี่ ฟันที่แข็งแรง ทำหน้าที่ในการตัด บด ฉีก และเคี้ยวอาหาร เช่น ปากของตั๊กแตน และแมลงสาบ
- ปากเจาะ-ดูด (Piercing-sucking) แมลงที่มีปากแบบนี้จะดัดแปลงอวัยวะปากบางชิ้นใหมีลักษณะเปน ทอเล็กยาวคลายเข็ม เรียกวา Stylets เพื่อเจาะหรือแทงลงในเนื้อเยื่อของสัตว เชน ปากของมวน เพชฌฆาต และยุง
- ปากกัด-เลีย (Chewing-lapping) แมลงใช้กรามซึ่งมีฟันที่แข็งแรงในการกัด และมีท่อหรืองวง เพื่อ ยื่นเข้าไปเลียน้ำหวานในดอกไม เช่น ผึ้ง และแมลงภู่
- ปากเขี่ยดูด (Rasping-sucking) แมลงกินอาหารโดยการเขี่ยให้ช้ำกอนแลวจึงดูดกินเช่น เพลี้ยไฟ
- ปากกัด-ซับดูด (Cutting-sponging) ปากแบบนี้มีลักษณะเป็นแผ่นแบนบางและมีส่วนปลายที่แหลมคม หรือตัดกรีดเนื้อเยื่อของเหยื่อให้ขาด จากนั้นจึงค่อยดูดซับอาหาร
- ปากดูดกิน (Siphoning) อวัยวะส่วนปากมีเพียงส่วนที่เป็นท่อหรืองวง ที่ใช้ยื่นเข้าไปดูดน้ำหวานในดอกไม สวนอวัยวะอื่นๆ เสื่อมหายไป เชน ปากของผีเสื้อ

2.) อก
        อก (Thorax) ของแมลง ติดอยูกับสวนหัวโดยอาศัยเยื่อบางๆ ที่เรียกวา Cervix หรือ คอ (Neck) เป็นตัวเชื่อมต่ออกของแมลงประกอบดวยปลอง 3 ปลอง คือ อกปลองแรก (Prothorax) อกปลองกลาง(Mesothorax) และอกปลองสุดทาย(Metathorax) และเปนที่ตั้งของอวัยวะซึ่งทําหนาที่ในการเคลื่อนไหว ไดแก ขา ปีก

                2.1) ขา
แมลงมีขา (Legs) 3 คู ตั้งอยูที่อกแตละปลอง ปลองละ 1 คู โดยทั่วไปขาของแมลงเปนปลอง จํานวน 6 ปลองเรียงติดตอกัน ดังภาพที่ 2.4 แมลงจะดัดแปลงปลองขาใหมีรูปรางแตกตางกันเพื่อประโยชนในการใชงาน

ขาของแมลง

                       ขาของแมลง
- ขาเดิน (Walkinglegs) ขาจะมีลักษณะเรียวยาว และใกลเคียงกัน เหมาะกับการเดินหรือวิ่ง เชน ขาของแมลงสาบ ดวงหนวดยาว แมลงวัน และผีเสื้อ
- ขากระโดด (Jumping legs) พบเฉพาะขาคูหลัง ซึ่งมีขนาดใหญ ภายในปลองขามีกลามเนื้อที่แข็งแรงชวยใหแมลงสามารถกระโดดไดเปนระยะทางไกลๆ เชน ขาหลังของตั๊กแตน
- ขาขุด (Digging legs) พบเฉพาะขาคูหนา ปลองขาแตละปลองจะหดสั้น แตมีขนาดใหญและแข็งแรงบริเวณสวนปลายแตกเปนแฉก ๆ คลายคราด ทําใหขุดดินไดสะดวก เชน ขา  หนาของแมลงกระชอน
- ขาหนีบ (Grasping legs) พบในแมลงซึ่งใชขาหนาในการจับเหยื่อ สวนที่ใชหนีบจะมีหนามแหลมคมติดอยูดานในเปนจํานวนมาก เชน ขาหนาของตั๊กแตนหนวดสั้น
- ขาจับ (Clasping legs) พบในแมลงตัวห้าที่ใชขาคูหนาจับเหยื่อ เชนเดียวกับขาแบบ Graspingแตผนังดานในของขาจะเรียบ ไมมีหนาม เชน ขาหนาของแมลงดานา
- ขาเกี่ยว (Clinging legs) มีลักษณะเปนงาม จะทําหนาที่ยึดหรือเกี่ยวตัวแมลงไวกับเสนขนหรือเสนผมเชน ขาของเหา

                2.2) ปีก
โดยทั่วไปแมลงมีปก (Wings) 2 คู อยูบนอกปลองกลางและปลองสุดทาย    ปลองละ 1 คู ปกของแมลงสวนใหญจะมีรูปรางคลายสามเหลี่ยม แมลงหลายชนิดมีอวัยวะพิเศษชวยเกี่ยวปกทั้ง 2 คู ใหยึดติดกันในขณะที่ทําการบิน เชน ผีเสื้อ ผึ้ง ตอ แตน เนื้อปกของแมลงมี 4 แบบ ไดแก

                          - Elytra เนื้อปกที่แข็งมาก ไมมีเสนปกและไมสามารถโคงงอได จึงไมใชในการบิน พบในปกคูหนาของดวง
- Hemelytra คือ เนื้อปกมีความหนาบางไมเทากัน โดยโคนปกจะมีความแข็งและหนากวาบริเวณปลายปก เชน ปกคูหนาของมวน
- Tegmina คือ เนื้อปกจะมีลักษณะคอนขางเหนียวคลายแผนหนังตลอดทั้งแผนปก เชน ปกคูหนาของตั๊กแตน แมลงสาบ จิ้งหรีด
- Membrane คือ เนื้อปกที่บางเทากันตลอดทั้งปก มองเห็นเสนปกชัดเจน เชน ปกคูหนาของแมลงปอ ผึ้ง แมลงวัน และปกคูหลังของแมลงทุกชนิด

3.) ท้อง
           ทอง (Abdomen)ของแมลง เปนสวนสุดทายของลําตัวแมลง อวัยวะที่พบบน สวนทองแบงออกไดเปน 2 ประเภท คือ
- อวัยวะที่เกี่ยวของกับการผสมพันธุ พบในแมลงที่เปนตัวเต็มวัย อวัยวะสืบพันธุของเพศเมีย คือ อวัยวะวางไข (Ovipositor) แมลงบาง ชนิดมีอวัยวะวางไขสั้น เชน ตั๊กแตนหนวดสั้น
- อวัยวะที่ไมเกี่ยวของกับการผสมพันธุ พบบนสวนทองของแมลงทั้งระยะตัวออนและตัวเต็มวัย มีหนาที่แตกตางกันไป เชน รูหายใจ ทําหนาที่รับกาซออกซิเจนเขาสูลําตัว

 

           ย้อนกลับ