ดูข้อมูลแมลง

 
ประเภทแมลง : ผีเสื้อ
รูปภาพ :
ชื่อแมลง : ผีเสื้อถุงทอง
ชื่อทั่วไป : ผีเสื้อถุงทอง
ชื่อสามัญ : The Golden Birdwing
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Troides aeacus (C.&R. Felder
ลักษณะทั่วไป : ผีเสื้อปีกกว้าง 110 มิลลิเมตร เป็นผีเสื้อที่มีปีกขนาดใหญ่เหมือนนก ลักษณะปีกปีกคู่หน้ายาวสีดำสีดำมีเกล็ดสีเทารอบเส้นปีกและในเซลล์ปีกหน้าซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนในทั้งสองเพศ แต่เพศผู้และเพศเมียจะต่างกันตรงที่ลวดลายปีกคู่หลัง เพศผู้จะเป็นสีเหลืองทองที่รอยปีกมีรอยหยักสีดำที่เหนือรอยหยัก 3 อันที่มุมด้านในของปีกจะมีเกล็ดสีเทาลักษณะเหมือนฝุ่นสีเทาครอบอยู่ ขณะที่เพศเมียนอกจากรอยหยักที่ขอบปีกหลังแล้วยังมีจุดขนาดใหญ่กระจายอยู่ในช่องว่างระหว่างเส้นปีก ช่องละ 1 จุด ลักษณะหนวดเส้นหนวดจะค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้นไปทางปลายหนวด จนมีรูปร่างคล้ายกระบอง (clavate) ปากแบบดูดกิน (Siphoning type) เป็นปากที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นกว่าปากแบบเจาะดูด มีลักษณะงวงยาวซึ่ง คือส่วน galea ของ maxilla ที่ดัดแปลงไปเป็นแท่งยาว 2 แท่ง มาเชื่อมประสานกันด้วยตะขอ (hooks) ประกบกันขึ้นเป็นท่อกลวงยาวเพื่อใช้ในการดูดอาหารที่เป็นของเหลวขึ้นมา มีเนื้อปีกแบบบางใสทั้งปีก เห็นเส้นปีกชัดเจน (Membrane) มีเกล็ด (scale) ปกคลุมเนื้อปีก ขาเดิน (Walking legs) เป็นขาที่ทีลักษณะเหมาะสมกับการเดินหรือวิ่ง
ถิ่นอาศัย : มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เป็นผีเสื้อที่บินสูงในระดับยอดไม้ แต่ในเวลากลางวันที่มีแดดจัดจะพบผีเสื้อลงบินตอมดอกไม้ เช่น ดอกเข็ม หรือพนมสวรรค์ ที่ขึ้นในที่โล่งหรือป่าโปร่ง ริมทางเดิน หรือบางครั้งลงดูดน้ำริมลำธาร สามารถพบได้ตลอดปี แต่จะชุกชุมมากในช่วงต้นฤดูฝน (พฤษภาคม-มิถุนายน)
ประโยชน์ : ช่วยผสมเกสร, ตัวบ่งชี้สภาพแวดล้อม

ย้อนกลับ